"การดำเนินการเพื่อให้การคำนวณภาษีอากรที่ทต้องเสียหรือนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฏหมายกำหนดตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนยื่นแบบแสดงรายการ"
กฏหมายสำหรับการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่นี้ จะมีผลให้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
เท่าที่ทราบมา กรมสรรพากรยังไม่ใช้บังคับผู้ประกอบการทุกรายในปีภาษี 2555 นี้ แต่จะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสมัครใจเข้าโครงการนี้เอง ก็คงมีเวลาพอที่ให้โอกาสผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีปรับปรุงตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กรมสรรพากรจต้องการ
สาเหตุหลักที่กรมสรรพากรจำเป็นต้องใช้นโยบายการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ พอสรุปเป็นสังเขปได้ ดังนี้
1. การจัดเก็บภาษีแบบเก่า กรมสรรพากรต้องทำการตรวจสอบภายหลังจากผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการแล้ว ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน และประสบปัญหางานค้างและการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างจำนวนมาก
2. เพื่อรองรับระบบเขตการค้าเสรี AFTA และ AEC ในปี 2558 ที่จะมีขึ้นในเขตการค้า กลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งความหมายของการค้าเสรี AFTA และ AEC นี้ก็คือ ขบวนการจัดการกับปัญหา เงื่อนไขของการค้าระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบให้หมดไปหรือมีน้อยที่สุด เช่น ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฉะนั้นจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสีรายได้จากภาษีศุลกากรหรือภาษีสรรพสามิต คงจะเหลือแต่ภาษีของกรมสรรพากรเป็นหลัก เท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีวิธีการจัดเก็บภาษีแบบใหม่เกิดขึ้น
3. การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่นี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศใช้ปฏิบัติงานอยู่ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมันนีเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ฉะนั้น ถ้าจะให้การจัดเก็บภาษีเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศแล้ว จะต้องใช้วิธีการจัดเก็บภาษีแบบใหม่แทน เพื่อให้ได้ข้อมูลการเสียภาษีที่ถูกต้องตาทที่กฏหมายกำหนด ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนยื่นแบบแสดงรายการ เป็นการขจัดวิธีใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานสรรพากรในการประเมินภาษีอากร ซึ่งถ้าใครมีพวกอยู่ก็จะได้เปรียบในการเสียภาษี
บทความหน้า จะกล่าวถึง Pre-Assessment Agreement (PAA) มีผลกระทบอย่างไรกับสำนักงานบัญชีและผู้ประกอบการ SME
ที่มา : คุณสุรศักดิ์ จารุวรรณสถิต บริษัท ศักดิ์การบัญชีและที่ปรึกษา จำกัด