Pre-Assessment Agreement (PAA) มีผลกระทบอย่างไรกับสำนักงานบัญชีและผู้ประกอบการ SME

Pre-Assessment Agreement (PAA) มีผลกระทบอย่างไรกับสำนักงานบัญชีและผู้ประกอบการ SME

 

จากหลักการตรวจภาษีอากรเบื้องต้นสำหรับ PAA มีดังนี้

     1. Bank Statement เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของรายการบันทึกบัญชี
     2. ถูกต้องตั้งแต่ธุรกรรมแรก
     3. จัดทำรายงานตามที่กรมสรรพากรกำหนด
         3.1 ทะเบียนรายการรับจ่ายผ่าน Bank Statement
         3.2 รายงานกระทบยอดรายรับ (ภงด.50) และรายรับตามแบบ (ภ.พ. 30)
         3.3 รายงานทะเบียนทรัพย์สิน
         3.4 รายงานภาษีซื้อและภาษีขาย (แบบใหม่)
     4. การให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ

 

 

     ถึงแม้กรมสรรพากรจะยังไม่ใช้การบังคับให้จัดทำก็ตาม แต่ให้ผู้ประกอบการสมัครใจเข้าร่วมโครงการเอง แต่นั่นหมายถึงหลักการตรวจสอบภาษีแบบใหม่ที่สรรพากรใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจ 

     เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า ข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ต้องเน้นการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องตามความเป็นจริงและทำให้ทันเวลาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานภาษีซื้อและภาษีขาย (แบบใหม่) ซึ่งเท่าที่ทราบมามีความยุ่งยากและเพิ่มข้อมูลมากกว่าเดิมหลายรายการ เช่น การต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก ทุกรายการในรายงานภาษีซื้อ และภาษีขาย หรือต้องส่งรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายภายหลังการยื่นแบบ ภ.พ.30  ตามวันเวลาที่สรรพากรกำหนด เป็นต้น
   
     จะเห็นได้ว่า สำนักงานบัญชีไม่มีทางทำงานได้ทันเวลาตามสรรพากรกำหนดอย่างแน่นอน มีหนทางเดียวที่จะทำได้ คือการ
ร่วมมือกันทำบัญชีระหว่างผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีโดยใช้วิธีการใช้ Software Online ในการจัดทำบัญชี
     
     Software Online ในการจัดทำบัญชีเป็นอย่างไร ขอให้ท่านผู้อ่านเข้ามาติดตามที่ TAC หรือ www.TACTHAI.com ท่านจะเห็นวิธีการจัดทำบัญชีที่ช่วยได้ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชี
     นี่คือ.. สำนักงานบัญชียุคใหม่ เพื่อรองรับการบริหารจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่และรองรับ AEC ในปี 2558
     และยังเป็นแนวทางสู่การเรียนรู้เรื่องการใช้ข้อมูลบัญชีจาก บัญชีการเงิน (Financial Accounting) มาจัดทำ บัญชีบริหาร (Managerial Accounting) เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารงานกิจกานของท่านอย่างมืออาชีพและรู้เท่าทันบริษัทต่างชาติ

ที่มา : คุณสุรศักดิ์  จารุวรรณสถิต  บริษัท ศักดิ์การบัญชีและที่ปรึกษา จำกัด
 959
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์