เมื่อมาตรฐานกำหนดให้ ต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือ และประมาณอายุการใช้งาน

เมื่อมาตรฐานกำหนดให้ ต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือ และประมาณอายุการใช้งาน

 

 

มื่อมาตรฐานกำหนดให้ต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือและประมาณอายุการใช้งานจึงมีคำถามดังนี้


1. คำถาม สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาในปี 2554 จะกำหนดมูลค่าคงเหลือ(ค่าซาก) เท่ากับ 1 บาท ได้หรือไม่
    คำตอบ  ไม่ได้ และต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการขายเมื่อสิ้นสุดอายุการใชงาน
2. คำถาม
  สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2554 หักค่าสึกหรอไปจนมีมูลค่าคงเหลือทางบัญชี(Book Value)=  1 บาท ต้องแก้ไขอย่างไร
    คำตอบ  ไม่ต้องแก้ไข ใหนๆก็ผิดแล้วคงต้องปล่อยตามเลย

3. คำถาม สินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2554 หักค่าสึกหรอยังไม่หมดมีมูลค่าคงเหลือทางบัญชี(Book Value) จำนวนมากว่าค่าซากที่ประมาณใหม่ (เดิมประมาณค่าซากไว้เท่ากับ 1 บาท) ต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือทุกรายการหรือไม่
    คำตอบ  หากทำได้ต้องทบทวนทั้งหมด หรืออาจทบทวนสินทรัพย์เฉพาะบางรายการที่กิจการคาดว่ามูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์แตกต่างไปจากที่ประมาณไว้อย่างมีสาระสำคัญและต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่โดยใช้วิธีเปลี่ยนทันที

4. คำถาม  กรณีสินทรัพย์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2554 เมื่อได้ทบทวนมูลค่าคงเหลือใหม่จะทำให้หักค่าเสื่อมราคาได้ต่ำกว่าปีก่อนเป็นผลให้ต้องเสียภาษีมากขึ้นหรือไม่ เช่นกรณีรถยนต์หากคำนวณค่าเสื่อมราคาปี2554โดยไม่ทบทวนจะได้เท่ากับ 130,000 แต่ถ้าทบทวนแล้วประมาณมูลค่าคงเหลือใหม่เป็น 300,000 บาท (ตามตัวอย่าง) เมื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาใหม่จะได้เท่ากับ 70,000 บาท
   คำตอบ ไม่ทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น หากจัดทำกระดาษทำการคำนวณค่าเสื่อมราคาทางภาษีแล้วนำไปปรับปรุง กรอกในภ.ง.ด.50 หากนักบัญชีศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษีให้ดี ก็จะเข้าใจว่านี่คือความแตกต่างทางบัญชีและภาษีอย่างเห็นได้ชัดเจน

 

ตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อม(สรรพากร)

 

 

ตัวอย่างการคำนวณค่าเสื่อม(บัญชี)

 

 

 

ที่มา : คุณพรชัย วัฒนะไพบูลย์กุล 
(บทความนี้ผู้เขียนต้องการยกตัวอย่างให้เห็นพอสังเขปสำหรับการเปลี่ยนประมาณการหรือต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี TFRS for NPAEs เพราะกรณีที่ต้องมาแก้ไขภายหลังจากมาตรฐานบังคับใช้แล้วอาจจะต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังทำให้เกิดความยุ่งยากตามมา)

 9775
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์