ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดทำงบทดลอง

ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดทำงบทดลอง



การจัดทำงบทดลองมีประโยชน์ดังนี้

1. เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีว่าถูกต้องตามหลักการบัญชีคู่หรือไม่ ซึ่งหากพบว่าไม่ถูกต้องจะได้ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างทันท่วงที

2. ข้อมูลในงบทดลองจะถูกใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่งบกำไรขาดทุน และงบดุล เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการ

3. ข้อมูลในงบทดลองจะถูกใช้เป็นข้อมูลในปรับปรุงบัญชี และปิดบัญชี เมื่อสิ้นงวดระยะเวลาบัญชีของกิจการ

ถึงแม้ว่าการจัดทำงบทดลองจะมีประโยชน์คือเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชี แต่ก็ตรวจสอบได้เฉพาะความถูกต้องในการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่เท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดพลาดอย่างอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดพลาดตามหลักการบัญชีคู่ งบทดลองก็จะยังคงลงตัว ดังนั้นการจัดทำงบทดลองก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้สำหรับความผิดพลาดของการบันทึกบัญชีประเภทนี้ ความผิดพลาดดังกล่าวที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการจัดทำงบทดลอง ได้แก่

1. ความผิดพลาดในการบันทึกบัญชีผิดบัญชี เช่น การซื้อเครื่องตกแต่งเป็นเงินเชื่อ ที่ถูกต้องจะต้องบันทึกบัญชีโดย เดบิต เครื่องตกแต่ง เครดิต เจ้าหนี้ แต่ในการบันทึกบัญชีได้บันทึกโดย เดบิต เครื่องตกแต่ง เครดิต เงินสด ซึ่งการบันทึกบัญชีแบบนี้จำนวนเงินทางด้านเดบิต เท่ากับจำนวนเงินทางด้านเครดิต ดังนั้นงบทดลองก็ยังคงลงตัว ทั้งที่การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง

2. ความผิดพลาดที่อาจชดเชยกันได้ เช่น การหายอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภทผิด แต่เป็นความผิดที่ชดเชยกันได้ เช่น ยอดคงเหลือของบัญชีเงินสดที่ถูกต้องเป็น 251,000 บาททางด้านเดบิต แต่หาได้ 250,000 บาท ทางด้านเดบิต ซึ่งต่ำไป 1,000 บาท และปรากฏว่าในการยอดคงเหลือของบัญชีเจ้าหนี้ หาได้ 41,000 บาท ที่ถูกต้องคือ 42,000 บาท ซึ่งต่ำไป 1,000 บาท ทำให้ยอดรวมของจำนวนเงินทางด้านเดบิตยังคงเท่ากับจำนวนเงินรวมทางด้านเครดิตหรืองบทดลองยังคงลงตัวอยู่ดี ทั้งที่ยอดคงเหลือของบัญชี 2 บัญชีดังกล่าวไม่ถูกต้อง

3. ความผิดพลาดที่เกิดจากการลืมบันทึกบัญชีทั้งทางด้านเดบิตและด้านเครดิต ซึ่งกรณีนี้จำนวนเงินรวมทางด้านเดบิตยังคงเท่ากับจำนวนเงินรวมทางด้านเครดิต หรืองบทดลองยังคงลงตัว ถึงแม้ว่าจะบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องเนื่องจากบันทึกบัญชีไม่ครบทุกรายการ



บทความโดย : coursewares.mju.ac.th
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com
 5089
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์