ดูงบกระแสเงินสด ควรเน้นดูตรงไหน?

ดูงบกระแสเงินสด ควรเน้นดูตรงไหน?

กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน อาจจะเป็นทั้งบวก ทั้งลบ ถ้าเป็นบวกแสดงว่า บริษัทเราหาเงินจากแหล่งเงินกู้ มาขยายงาน หากเป็นลบ ก็แสดงว่า เราไม่ต้องหาเงินจากภายนอกแล้วเรามีเงินมากพอที่จะจ่ายปันผลสู่ผู้ถือหุ้นได้มากกว่าแล้ว อันนี้ผมเฉยๆ ได้ทั้งบวกและลบ ยกตัวอย่างพวกค้าปลีก ช่วงปีแรกๆ กระแสเงินสดจากการดำเนินการเค้ายังจะไม่มากพอที่จะขยายสาขามากๆ ได้ เค้าก็จะไปกู้เงินภายนอกมาเยอะมากหลายๆ ปีเลยทีเดียว แต่เค้าลงทุนไปแล้วกระแสเงินสดจากการดำเนินการเค้าก็เพิ่มขึ้นด้วยในปีถัดๆ ไปจนกระทั่ง ผ่านไปหลายๆ ปีเงินที่ต้องการจากภายนอกจะลดลง จนสามารถขยายสาขาโดยไม่ต้องไปกู้มากๆ เหมือนแต่ก่อนได้ และมีเงินเหลือมากพอที่จะจ่ายปันผล

1. operating cash flow (OCF) ควรเป็นบวก (ใช้คำว่าควรหมายความว่ากิจการมีเงินสดเข้าบริษัทจากการดำเนินงานมากกว่าเงินสดออกไปหรือเงินสดจมอยู่ในสินค้าคงเหลือและเก็บเงินสดยังไม่ได้จากลูกหนี้การค้า แต่การค้างเจ้าหนี้การค้าก็อาจทำให้เงินส่วนนี้เป็นบวกได้ส่วนใหญ่ทำได้ถ้ามีอำนาจต่อรองสูงกว่าเจ้าหนี้ ต้องดูตรงนี้ด้วยว่าค้างเพราะไม่มีจ่ายหรือค้างเพราะว่าต้องการเก็บเงินสดไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่า จริงๆจะจ่ายก็จ่ายได้แต่ไม่อยากจ่ายตอนนี้อะไรทำนองนี้)

2. investing cash flow อันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นลบ เนื่องจากมีการจ่ายเงินออกเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่จะสร้างกำไรให้กับบริษัทได้ในอนาคตที่ดีกว่าการเก็บเงินสดไว้เฉยๆ อันนี้เราก็ต้องดูรายละเอียดด้วยว่าลงทุนทำอะไรที่ดีกับกิจการหรือป่าว คุณภาพหรือเหตุผลของการลงทุนมีผลดีกับกิจการที่จะเพิ่มกำไรและก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่ดีขึ้นหรือไม่ ต้องดูด้วยความเข้าใจทุกรายการ รายการนี้บางครั้งก็อาจจะเป็นบวกได้ถ้ามีการขายสินทรัพย์ออกไป ซึ่งการขายสินทรัพย์ออกไปก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี กล่าวคือ ถ้าดีหมายความว่าขายเพราะต้องการที่จะตัดกิจการที่ฉุดกำไรของบริษัทออกไป คือยิ่งเก็บไว้ยิ่งขาดทุนหรือไม่ก่อให้เกิดรายได้อะไรทำนองนี้ แต่ถ้าขายเพราะต้องการเพิ่มสภาพคล่องทั้งๆที่สินทรัพย์นั้นยังทำเงินอยู่แต่ต้องขายเพราะไม่มีเงินหมุนเวียนแล้ว แบบนี้ไม่น่าจะดี เป็นต้น)
บางทีส่วนนี้ก็อาจจะมีการจ่ายออกไปเป็นค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อให้คงความสามารถในการผลิตให้ดีอย่างเดิม อันนี้ก็ต้องดูด้วย

3. financing cash flow ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับกรณีดังต่อไปนี้

3.1 เงินที่ไหลเข้า (+) มาจาก การเพิ่มทุน การกู้ยืม ออกหุ้นกู้ ฟังดูแล้วแต่ละอันความหมายเป็นไปในทางลบเหมือนกัน แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ต้องดูรายละเอียด เช่นบางครั้งเราอาจต้องการเงินทุนหมุนเวียนชั่วคราว ต้องไป OD มาเพราะยังเก็บเงินลูกค้าไม่ได้ และสินค้าคงเหลือก็มีเงินจมอยู่ อันนี้ถ้าเกิดต่อเนื่องนานๆไม่ได้ เกิดบางครั้งบางคราวอาจจะพอรับได้ เช่นช่วงที่กิจการมีการขยายตัว

3.2 เงินที่ไหลออก (-) เกิดจาก การจ่ายปันผลออกไปให้ผู้ถือหุ้น (อันนี้ดีแน่) การจ่ายคืนหนี้ (ดีเหมือนกัน) การซื้อหุ้นคืน (น่าจะดีนะเพราะเพิ่ม eps ได้) อะไรอีกล่ะ นึกไม่ออก

หลักๆ คือ เราต้องเข้าใจทุกบรรทัดแหละครับ เพราะงบกระแสเงินสดก็เป็นการปรับเกณฑ์คงค้างในงบกำไรขาดทุนและงบดุลมาเป็นเกณฑ์เงินสด ซึ่งเป้าหมายในการดูคือ เงินไหลเข้า เงินไหลออก จากบริษัทนั่นแหละ ว่าไหลไปทางไหนมากกว่าและมันไหลแบบไม่มีคุณภาพหรือมีคุณภาพ สุดท้าย net cash (3.1+3.2+3.3) ควรจะเป็นบวกและการบวกควรจะบวกเนื่องจาก OCF เป็นหลักครับ ผมก็ยังไม่คล่องหรอก ฝึกไปเรื่อยๆ



บทความโดย : greenthaivi.blogspot.com  
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com
 779
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์