เล่าสู่กันฟัง

เล่าสู่กันฟัง




เล่าสู่กันฟัง..

     เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมที่กรมส่งเสริมการส่งออก เรื่องธุรกิจรับจ้างบริการระบบธุรกิจ หรือ Business Process Outsourcing (BPO) โดยมีผู้ว่าจ้างอยู่ในต่างประเทศ ได้ข้อมูลจากการจัดอันดับประเทศที่เป็นแหล่งให้บริการ Outsourcing ที่ดีที่สุดในโลก ประเทศไทยได้อยู่อันดับ 7 ของโลก โดยเฉพาะด้าน IT Outsourcing และธุรกิจที่มีแนวโน้มของดีมานสูงขึ้น คือ BPO ด้านการบัญชี โดยบริษัทบัญชีขนาดใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐและยุโรป มักจะอยู่ Outsource งานด้านบัญชีออกไปให้บริษัทอื่นในต่างประเทศทำแทนเพื่อลดต้นทุน Operating Cost
  
     ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่รับจ้างผลิตงาน IT รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยเน้นแหล่งรับจ้างผลิตงาน IT ใน 2 กลุ่ม คือ งานซอฟท์แวร์ IT และการรับจ้างผลิตงานไอทีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ BPO

     การ Outsource งาน BPO ด้านการบัญชี ได้แก่ กระบวนการงานประเภทบันทึกบัญชี (Bookkeeping) ระบบเจ้าหนี้ (Account payable) ระบบลูกหนี้ (Account receivable) ระบบบัญชีแยกประเภท (General ledger) ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูลและการรักษาความลับของลูกค้าบริษัท เป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทผู้ว่าจ้างพิจารณาในการเลือกบริษัทที่จะมารับงานออกไป

     จากข้อมูลดังกล่าวนี้พวกเราสำนักงานบัญชีไทยทั้งใหญ่และเล็กควรต้องมาพิจารณาว่า BPO ด้านการบัญชี มีผลกระทบอย่างไร

     ผลกระทบทางตรงคือ สำนักงานบัญชีไทย มีคุณสมบัติพอที่จะให้บริษัทต่างชาติเชื่อถือและสนใจที่จะจ้างสำนักงานบัญชีไทยเป็น BPO หรือไม่ ซึ่งในขณะนี้ถึงแม้ประเทศไทยจะมีชื่อเสียงด้าน IT Outsourcing ก็ตาม แต่ยังไม่เคยเห็นโปรแกรมด้านบัญชีใดของไทยที่มีขีดความสามารถรับงานได้ในขณะนี้ ที่เห็นก็มีเพียงบริษัท ไทย แอคเคาท์ติ้ง เซ็นเตอร์จำกัด(TAC) ซึ่งได้ทดลองเริ่มโปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบเรียลไทม์แล้ว แต่ก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับประเทศอินเดียได้

     ผลกระทบทางอ้อม คือ บริษัทต่างชาติทั้งหลายที่เข้ามาตั้งในประเทศไทย เพราะระบบ AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2558 พวกเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่จะจ้าง Outsource ด้านบัญชีทั้งจากประเทศของตนเอง และประเทศอินเดียเป็นต้น ซึ่งพวกเขาจัดทำบัญชีชุดเดียวในการบริหารงาน และเสียภาษี บริษัท SME ในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติเหมือนบริษัทต่างชาติ เมื่อเราไปติดต่อค้าขายกับเขา เราก็จำเป็นต้องจัดทำบัญชีชุดเดียวเหมือนพวกเขา เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลบัญชีในลักษณะแบบเดียวกันในการบริหารงาน แต่คำถามก็คือ SME ไทยพร้อมแล้วหรือยังที่จัดทำบัญชีชุดเดียว สำนักงานบัญชีไทยพร้อมที่จะให้บริการได้หรือไม่ และ มีโปรแกรมบัญชี ON LINE REAL TIME ในการบริการหรือไม่

     จากผลกระทบสองข้อนี้ท่านผู้ประกอบการ SME และกลุ่มสำนักงานบัญชีไทย ลองเข้าไปชมเว็บ www.TACTHAI.COM  ว่าจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง



ที่มา : คุณสุรศักดิ์  จารุวรรณสถิต  บริษัท ศักดิ์การบัญชีและที่ปรึกษา จำกัด
 689
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์