เส้นทางอาชีพ นักบัญชี

เส้นทางอาชีพ นักบัญชี

 

 

          “นักบัญชี” ถือเป็นอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และร่ำเรียนมาโดยตรง ทำงานในสายงานบัญชี จนมีประสบการณ์มากพอสมควร ผ่านความรับผิดชอบเป็นสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาก่อน จึงจะได้รับการยอมรับให้เป็น “นักบัญชี”

          “ผู้ทำบัญชี” เป็นวิชาชีพ ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี และเช่นกัน “นักบัญชี” ผู้มีความสามารถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

          เมื่อกล่าวถึง “ผู้ทำบัญชี” ก็ต้องกล่าวถึง “ผู้สอบบัญชี” ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสระอีกอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ดังกฏที่ว่า งบการเงินของกิจการหนึ่ง ๆ ผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมิใช่คนเดียวกัน หรือเรียกว่า คนทำไม่ตรวจ คนตรวจก็ไม่ทำบัญชี คล้ายกับอาชีพหมอ ที่ว่า แพทย์เป็นผู้ตรวจแล้วสั่งยา แต่ไม่หยิบยาเอง ส่วนเภสัชกรมีหน้าที่หยิบยา แต่ไม่มีหน้าที่สั่งยาให้คนไข้ หรือยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คืออาชีพวิศวกร กับสถาปัตยกรรม ทั้งสองอาชีพทำหน้าที่คู่ขนานกัน

          สำหรับนักบัญชี อย่างน้อย ๆ จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 1 ใบ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น 

  • ผู้ทำบัญชี
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ผู้สอบภาษีอากร (Tax Auditor)

          อาชีพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี

          1. รับทำบัญชี
          2. รับตรวจสอบบัญชี
          3. รับวางระบบบัญชี
          4. รับเขียนโปรแกรมบัญชี
          5. ที่ปรึกษาภาษีอากร
          6. เป็นวิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี – ภาษีอากร
          7. สถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร
          8. ผลิต/จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

          ลำดับที่ 1 – 6 จะทำเป็นอาชีพอิสระด้วยตัวเองคนเดียวก็ได้ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงอาชีพการรับทำบัญชี เพราะเป็นงานอิสระที่นักบัญชีส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการรับทำบัญชี

          ความภูมิใจในอาชีพนักบัญชี

          1.เป็นอาชีพที่มีเกียรติ  ทั้ง นี้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฎิบัติตน ทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณในวิชาชีพ ท่านจะได้รับเกียรติและการยอมรับจากลูกค้าและบุคคลทั่วไป

          2. สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ถือ ว่ามีส่วนร่วมในสังคม เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล อันทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

          3. ความมีเอกภาพ นัก บัญชีที่ดีต้องมีเอกภาพ มีอิสระที่จะปฎิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา ฝ่ายผู้ประกอบการต้องการเสียภาษีน้อย แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่สรรพากรต้องการเก็บภาษีให้ได้มาก ๆ เรานักบัญชีเป็นผู้อยู่ตรงกลาง ทำอย่างไรจึงจะให้ได้รับความพอใจทั้งสองฝ่าย และอยู่บนเงื่อนไขความถูกต้องด้วย 



บทความโดย : www.unigang.com
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com

 4002
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์