หลักการแสดงรายการลูกหนี้ และตั๋วเงินรับในงบดุล

หลักการแสดงรายการลูกหนี้ และตั๋วเงินรับในงบดุล

 

 

          ลูกหนี้การค้า และตั๋วเงินรับให้แสดงเป็นทรัพย์สินในงบดุล โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

          1. ลูกหนี้การค้า และตั๋วเงินรับแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนได้ เมื่อสามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี หรือรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ หากมีรอบระยะเวลาการชำระหนี้เกินกว่า 1 ปี หรือรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติให้แสดงไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

          2. ลูกหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ ควรแยกแสดงต่างหากจากลูกหนี้การค้าอื่น และหักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยแสดงไว้ในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งจำนวน ถึงแม้ว่ามีหนี้บางส่วนที่ระยะเวลาการชำระหนี้นานเกิน 1 ปี หรือ 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติก็ตาม

          3. ถ้าลูกหนี้หรือตั๋วเงินรับมีการนำไปเป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องเปิดเผยพันธะผูกผันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย

          4. ลูกหนี้ที่โอนหรือขายโดยมีเงื่อนไขต้องรับผิดชอบในหนี้สูญ ให้เปิดเผยเงื่อนไขไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

          5. ส่วนลดตั๋วเงินรับ (ถ้ามี) ให้นำไปหักออกจากตั๋วเงินรับในงบดุล และเปิดเผยเกี่ยวกับจำนวนเงินในตั๋วอัตราดอกเบี้ยตั๋ว อัตราดอกเบี้ยแท้จริง และส่วนลดของตั๋วเงินรับที่ยังเหลือของตั๋วแต่ละฉบับไว้ด้วย

          6. ตั๋วเงินที่มิได้เกิดจากการขายสินค้า แต่เกิดจากการลงทุนชั่วคราวให้แยกแสดงเป็นรายการต่างหากจากตั๋วเงินรับแต่ละฉบับด้วย

          7. ตั๋วเงินรับขายลดที่ยังไม่ถึงกำหนดให้นำไปหักออกจากตั๋วเงินรับ ณ วันสิ้นงวด หรือแสดงไว้เป็นยอดสุทธิในงบดุลก็ได้ แต่ต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากตั๋วเงินรับ ขายลดไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

          8. ลูกหนี้ที่มียอดเครดิต หากมีจำนวนน้อยอาจจะนำไปหักจากลูกหนี้ทั้งหมด และแสดงยอดสุทธิโดยไม่ต้องแยกแสดงเป็นเจ้าหนี้




บทความโดย : วารสารข่าวสำหรับนักบัญชี และวารสารฉบับ เอกสารภาษีอากร สำนักพิมฑ์ธรรมนิติ
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com
 2286
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์