การขอขึ้นทะเบียนเป็นนักทำบัญชี

การขอขึ้นทะเบียนเป็นนักทำบัญชี

 

 

ลำดับที่ 1 แจ้งการฝึกหัดงานสอบบัญชี ก่อนเริ่มฝึกหัดงาน ต่อสภาวิชาชีพบัญชี โดยใช้ แบบ ผส.1

หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ

  • สำเนาปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร พร้อมต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  • สำเนา พร้อมต้นฉบับใบรับรอง ผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) กรณีฝึกหัดงานระหว่างการ ศึกษา ให้ใช้ให้หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษา ที่แสดงว่าได้สอบผ่าน- วิชาการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบ บัญชี ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสืออื่นใด ของทางราชการ ซึ่งใช้ในการแสดงตนได้
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

ลำดับที่ 2 รายงานการฝึกหัดงาน ปีละ 1 ครั้ง นับจากวันแจ้งฝึกหัดงาน โดยใช้ แบบ ผส.2 และฝึกหัดงานต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีเวลาฝึกหัดงาน ไม่น้อยกว่า 3,000 ชม.         

หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ

  • เลขที่ คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยันจากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชี ในแต่ละปีเพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด

ลำดับที่ 3 เมื่อสิ้นสุดการฝึกหัดงาน เป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีเวลาฝึกหัดงาน ไม่น้อยกว่า 3,000 ชม.แล้ว ให้ยื่นแบบคำรับรองของผู้ให้การฝึกงาน แบบ ผส.3

หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ

  • เลขที่คำขอ แจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยัน จากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชีในแต่ละปี เพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด (ในกรณีไม่ได้ยื่นในขั้นตอนการรายงานการฝึกหัดงาน)

ลำดับที่ 4 เมื่อเปลี่ยนผู้ให้การฝึกงาน จะต้องแจ้งต่อสภาวิชาชีพภายใน 1 เดือนนับแต่วันเปลี่ยนผู้ให้การ ฝึกหัดงาน โดยใช้ แบบ ผส.2 และ แบบ ผส.3 สำหรับผู้ให้การฝึกหัดงานคนเดิม และใช้ แบบ ผส.4 สำหรับผู้ให้การฝึกหัดงานคนใหม่

หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ

  • เลขที่ คำขอแจ้งการฝึกหัดงาน หนังสือยืนยัน จากนิติบุคคลตามที่ได้ รายงานไว้ ในแบบรายงาน การฝึกหัดงาน สอบบัญชี ของผู้ให้การฝึกหัดงานคนเดิมเพื่อยืนยันว่า ได้เข้าตรวจสอบบัญชี ของนิติบุคคล รอบปีบัญชีใด เป็นระยะเวลาเท่าใด

ลำดับที่ 5 ต้องผ่านการทดสอบความรู้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบจะต้องสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญา และอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชี หรือฝึกหัดงานครบถ้วนแล้ว

วิชาที่ทดสอบ

  • แบ่งเป็นหกวิชา คือ วิชาการบัญชี ๑ วิชาการบัญชี ๒ วิชาการสอบบัญชี ๑ วิชา การสอบบัญชี ๒ วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี และวิชาการสอบบัญชีที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ขอบเขต รายละเอียดเนื้อหาและเค้าโครงของวิชาที่ต้องทดสอบให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องสอบผ่านทุกวิชา และได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบจึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ โดยผู้เข้ารับการทดสอบสามารถสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านได้ไม่ เกินสามปี นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบแต่ละวิชา

ลำดับที่ 6 เมื่อสอบผ่านครบทุกวิชาและได้หนังสือแจ้งสอบผ่านจากสภาพวิชาชีพแล้ว ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แบบ กบช.1 (ใช้แทนแบบของสภาฯชั่วคราว)

หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ

  • รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป
  • หนังสือรับรองความประพฤติจากสถานที่ทำงานปัจจุบัน
  • บัตรประจำตัวสอบ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน


บทความโดย
 : www.unigang.com
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com
 2343
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์