นักบัญชีกับเตรียมกรอบการศึกษาผลกระทบจาก AEC

นักบัญชีกับเตรียมกรอบการศึกษาผลกระทบจาก AEC

 

 

     วิชาชีพบัญชีเป็นอีกหนึ่งอาชีพครับที่จะเปิดเสรีในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นอกเหนือไปจากอีกหลากหลายอาชีพ อาทิ แพทย์ พยาบาล สถาปนิก ฯลฯ ซึ่งขณะนี้ (ปี 2555) ยังคงอยู่ในขั้นตอนการเจรจาของคณะทำงานร่วมอยู่ครับว่า การเปิดเสรีที่ว่านี้ในรายละเอียดจะมีเนื้อหาสาระอย่างๆไร เช่น การเดินทางไปประกอบอาชีพบัญชีในประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนจะมีแนวปฏิบัติและขั้นตอนการขออนุญาตต่างๆอย่างไร มีระเบียบและขั้นตอนอะไร และมีสิทธิและขอบข่ายในการทำงานเป็นแบบไหนบ้าง ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นักบัญชีทั้งที่มีความประสงค์จะเดินทางไปทำงานยังประเทศสมาชิกหรือไม่มีก็ตามแต่ อาจต้องติดตามข่าวสารกันอย่างใกล้ชิดกันพอสมควร

     สาเหตุก็คือ หากท่านเป็นนักบัญชีที่มีความสนใจเดินทางไปทำงานในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนภายหลังการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการแล้ว แนวปฏิบัติต่างๆเหล่านี้จะเป็นเสมือนคู่มือและเครื่องมือที่จะให้ช่วยให้ผู้ที่ติดตามอย่างต่อเนื่องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวทางต่างๆ ตลอดจนวิธีการในการดำเนินการไปทำงานอย่างถูกต้อง และสามารถช่วยในการวางแผนการล่วงหน้าได้อย่างเป็นระบบ ส่วนท่านที่ยังไม่ได้มีความสนใจที่จะไปทำงานในประเทศเพื่อบ้านเพื่อนสมาชิกอาเซียนนั้น การที่อาจจะมีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจากประเทศอื่นๆเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในแวดวงธุรกิจ หรือแม้แต่ในกิจการที่ท่านทำงานอยู่ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ที่จะอาจก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงออกไปจากการทำงานในแบบเดิมอย่างมีนัยะสำคัญพอสำหรับการที่จะศึกษาแนวโน้มทิศทางหรือรูปแบบความเปลี่ยนแปลงนั้นๆไม่น้อยทีเดียว

     ที่กล่าวมานั้นเป็นแง่มุมเฉพาะในเรื่องของการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีในทางวิชาชีพ แต่สำหรับในแง่มุมการพัฒนาและยกระดับปัจจัยภายในหรือตัวผู้ทำบัญชีเองนั้น มียังมีอีกหลายแง่มุมที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ในแง่ของวิชาชีพหรือเรื่องของมาตรฐานทางวิชาชีพบัญชีนั้น สำหรับประเทศไทยของเรามีองค์กรอย่างสภาวิชีพบัญชีฯที่คอยกำกับดูแลและปรับปรุงพัฒนาในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ทั้งที่ผ่านมาผู้ที่ประกอบวิชาชีพบัญชีภายในประเทศก็มีโอกาสและห้วงแวลาในการศึกษาและอบรมพัฒนาความรู้ในเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้คุณภาพหรือระดับความมาตรฐานและความเป็นสากลเชิงวิชาชีพในภาพรวมจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องน่ากังวลนัก คงมีแต่เพียงในลีกษณะปัจเจกบุคคลเท่านั้นที่อาจมีความรู้ความเข้าใจในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปในทุกวิชาชีพทุกวงการ

     ด้วยเหตุนี้เรื่องที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรืออาจจะรวมถึงวิชาชีพเฉพาะอื่นๆที่เปิดเสรีแล้วพึงให้ความสำคัญก็คือ เรื่องของภาษา ซึ่งหากกล่าวให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือภาษาอังกฤษซึ่งคงยากที่จะหลีกเลี่ยงที่จะต้องกลายมาเป็นภาษากลางในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ นอกจากเรื่องนี้แล้วสิ่งที่น่าจะโฟกัสก็คงจะเป็นเรื่องของการติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในปัจจัยแวดล้อมต่างๆจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีหลายด้านหลากมุมกันอย่างเป็นระบบและจริงจังมากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ผลกระทบต่องานและต่อธุรกิจหรือองค์กรของแต่ละคน

     ที่ว่าอย่างเป็นระบบนั้นกล่าวคือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีสามารถที่จะเริ่มต้นศึกษาและติดตามข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการได้มาซึ่งแนวทางหรือประเด็นที่เป็นผลกระทบต่างๆ สำหรับที่จะนำมาจัดวางเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาและติดตามข้อมูลในระยะยาว อาทิ ทิศทางในมุมวิชาการ ความเปลี่ยนแปลงในแง่ของโครงสร้างภาษีอากร ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร ฯลฯ หรือประเด็นปลีกย่อยต่างๆในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวในแง่ของวิชาชีพที่ย่อมจะมีผลกระทบต่อการทำงานโดยตรงทีละขั้นๆ จากนั้นก็อาจก้าวไปสู่กการกำหนดกรอบหรือประเด็นที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจหรือองค์กรเป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดจินตนภาพและทิศทางความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนแนวทางรับมือหรือใช้ประโยชน์จากสภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยหากสามารถสรุปเป็นข้อมูล-ข้อเสนอแนะ ที่นำเสนอต่อคณะผู้บริหารเพื่อให้รับทราบ ประเมินและพิจารณาต่อไปก็จะนับเป็นอีกหนึ่งในภาระกิจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับนักบัญชียุคใหม่ที่มีมุมหรือวิสัยทัศน์ที่ยกระดับขึ้นไปจากเดิม

     ครับ ฉบับหน้าถ้ามีโอกาสเราอาจจะมาพูดคุยกันถึงตัวเลขและผลสำรวจต่างๆที่น่าสนใจกันต่อ ส่วนท้ายนี้มีหลักสูตรอบรมสัมมนาที่น่าสนใจแจ้งเพื่อทราบครับ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของนักบัญชี และ AEC ที่เราพูดกันถึงอยู่ในวันนี้ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเอื้ออำนวยต่อการปูแนวทางในการติดตามข้อมูลและทิศทางความเปลี่ยนแปลงต่อวิชาชีพได้ตามสมควรครับ"


บทความโดย : www.dst.co.th
ประกาศบทความโดย : 
 http://www.tacthai.com 

 1635
ผู้เข้าชม

ข่าวสารและกิจกรรม

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีมาจากลูกค้ามาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงานทั่วประเทศไทย
เข้าสู่ปีมังกรผงาด “เอสเอ็มอี” ยังมีโจทย์หิน รอให้พิสูจน์ฝีมือ ช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวในทุกมิติ ไม่เว้นแต่ “บัญชีบริหาร”
การทำบัญชีของ SMEs ในบ้านเรานั้น กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะใช้บริการของสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยยื่นภาษีให้กับรัฐและปิดงบการเงินเป็นรายปี เพื่อส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวเลขในบัญชีชุดสรรพากรนั้นมักจะไม่ตรงกับความเป็นจริง
หน้าที่ของ สำนักงานบัญชียุคใหม่ ต้องทำหน้าที่เป็นอะไรให้ลูกค้า ได้ทั้ง พนักงานบัญชี สมุห์บัญชี และผู้จัดการบัญชีของลูกค้า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์